โรงเรียนปิยชาติพัฒนา

รายละเอียด

โรงเรียนปิยชาติพัฒนา เป็นโรงเรียนตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2532 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดงาน สัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ณ บริเวณสนามหลวง อธิบดีกรมสามัญศึกษา (นายพะนอม แก้วกำเนิด) ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ ด้วยในวันนั้นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริกับอธิบดีกรมสามัญศึกษา เรื่องปัญหาการไม่มีที่เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาของบุตรหลานข้าราชการในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รวมทั้งบุตรหลานชาวบ้านในตำบลใกล้เคียง โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อีกส่วนหนึ่ง. จากพระราชดำริดังกล่าว กรมสามัญศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าและจังหวัดนครนายก จึงร่วมศึกษาข้อมูลนักเรียนที่จะเข้าเรียน การจัดหาที่ดินเพื่อก่อสร้างเป็นที่ดินของราชพัสดุในส่วนที่กองทัพบกดูแล อยู่หน้าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มีสภาพเป็นป่าไผ่ค่อนข้างทึบมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 19 หลังคาเรือน มีตลาดนัดชาวบ้านชื่อว่า “ตลาดบุญส่ง” ซึ่งโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เตรียมแผนย้ายผู้คนเหล่านั้นไม่ให้เกิด ความเดือดร้อน โดยย้ายตลาดและชาวบ้านที่ใช้ที่ดินส่วนนั้นให้ไปอยู่ยัง ที่ดินจัดสรรให้เป็นหมู่บ้านใหม่ ที่ไม่ไกลจากที่เดิมนัก เพื่อเป็นสัดส่วนโดยตั้งชื่อหมู่บ้านที่ย้ายไปนี้ว่า “หมู่บ้านเทพประทาน” เพื่อเตรียมการจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษา แห่งใหม่นี้ วันที่ 6 กันยายน 2532 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานการประชุม ร่วมกับคณะของกรมสามัญศึกษาประกอบด้วยอธิบดี รองอธิบดี ผู้อำนวยการกองแผนงาน ผู้อำนวยการกองการมัธยมศึกษา ผู้อำนวยการกองออกแบบและก่อสร้าง หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์และคณะโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้าฯ ที่ห้องประชุมตึกประวัติศาสตร์ ของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทรงแนะนำว่าขอให้เป็นโรงเรียนขนาดกลาง อาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้น ควรเว้นที่ว่างติดกับทางโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ ไว้ด้วยเพื่อความสวยงามและระบบความปลอดภัยของทหาร คณะผู้ออกแบบจึงได้จัดแบ่งพื้นที่โรงเรียนจำนวน 72 ไร่ ออกเป็น 3 ส่วน โดยกำหนดที่ดินด้านทิศใต้ คือ ส่วนที่มองเห็นก่อนเมื่อมองจาก ถนนสาย จ.ป.ร.- รังสิต เป็นส่วนของสนามกีฬาและบ้านพักครู ส่วนตรงกลางใช้เป็นที่ตั้งอาคารเรียนที่ต่อเชื่อมกันเป็นรูปก้างปลา โดยทางกรมสามัญศึกษากำหนดแผนชั้นเรียนไว้ทั้งสิ้น 42 ห้องเรียน คือ มัธยมศึกษาตอนต้น 24 ห้องเรียน และมัธยมศึกษาตอนปลาย 18 ห้องเรียนและต่อเชื่อมกับหอประชุม พร้อมโรงฝึกงานอีก 3 หลัง 6 หน่วย มีลานเอนกประสงค์อยู่ตรงกลาง ส่วนด้านทิศเหนือติดกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นพื้นที่แปลงเกษตรและแหล่งน้ำโดยการออกแบบของ นายกำธร บุญปาลิต สถาปนิกกองออกแบบกรมสามัญศึกษา

วันที่ 20 กันยายน 2532 นายโกวิท วรพิพัฒน์ อธิบดีกรมสามัญศึกษา ทำหนังสือต่อสำนักราชเลขานุการ ในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เพื่อกราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขอพระราชทานนามของโรงเรียน
วันที่ 5 ตุลาคม 2532 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้ นายโกวิท วรพิพัฒน์ อธิบดีกรมสามัญศึกษาและคณะพร้อมด้วยคณะนายทหารนำโดย พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบกเข้าเฝ้า ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ เพื่อสรุปข้อมูลรายละเอียดและดำเนินการจัดตั้ง โรงเรียนปิยชาติพัฒนา ที่หมู่ที่ 4 ตำบลพรหมณี อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก บริเวณประตูหน้าของ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปัจจุบัน
วันที่ 31 ตุลาคม 2532 ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ โดยพลเอกมานะ รัตนโกเศศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อาศัยอำนาจตามความในข้อ 23 แห่งคณะปฏิวัติฉบับที่ 216 ให้เปิดโรงเรียนมัธยมศึกษาเพิ่ม 1 โรง ในปีการศึกษา 2533 ที่ตำบลพรหมณี อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนามว่า “โรงเรียนปิยชาติพัฒนา”
วันที่ 26 ธันวาคม 2532 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์โรงเรียนปิยชาติพัฒนา
วันที่ 22 มกราคม 2533 กรมสามัญศึกษาได้มีหนังสือกรมสามัญศึกษาที่ 145/2533 ให้นายสำเนียง พาแพง ผู้อำนวยการโรงเรียนสิงห์สมุทร จังหวัดชลบุรี ซึ่งรักษาการในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนนครนายกวิทยาคม จังหวัดนครนายก สังกัดกองการมัธยมศึกษาให้ปฏิบัติหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียนปิยชาติพัฒนาอีกตำแหน่งหนึ่ง
วันที่ 9 เมษายน 2533 เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวและโรงอาหารมุงด้วยหญ้าคา
วันที่ 16 พฤษภาคม 2533 โรงเรียนเปิดทำการสอนเป็นวันแรกในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จตรวจเยี่ยมและทอดพระเนตรการเรียนการสอน ในอาคารชั่วคราวมี นักเรียนเข้าศึกษาจำนวน 300 คน
วันที่ 5 มกราคม 2534 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเล็งเห็นว่า อาคารชั่วคราว ไม่สามารถรักษาหนังสือและเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างอาคารชั้นเดียวเรียกว่า “อาคารพระราชทาน” ดำเนินการก่อสร้างโดย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และวิทยาลัยเทคนิคนครนายก
วันที่ 5 เมษายน 2534 นายก่อ สวัสดิพานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีหนังสือกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชานุญาตให้โรงเรียนปิยชาติพัฒนา มีตราประจำโรงเรียน และพระราชานุญาตให้โรงเรียนอยู่ในพระราชูปถัมภ์
วันที่ 10 เมษายน 2534 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณรับโรงเรียนปิยชาติพัฒนา ไว้ในพระราชูปถัมภ์และพระราชทานตรามงกุฎประจำพระองค์ เป็นตราประจำโรงเรียน ปิยชาติพัฒนา
วันที่ 26 ธันวาคม 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงานมหกรรมผักโรงเรียนภาคตะวันออก ของกรมสามัญศึกษาที่โรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2536 หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ นิพนธ์คำร้องเพลงปิยชาติพัฒนา ในทำนอง สโลว์มาร์ช มอบให้กับโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
วันที่ 26 ธันวาคม 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเรียนเต็มรูปแบบตามแผนของกรมสามัญศึกษา จำนวน 42 ห้องเรียน
วันที่ 26 ธันวาคม 2537 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดห้องพิพิธภัณฑ์ประจำโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
วันที่ 26 ธันวาคม 2538 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จฯเยี่ยมโรงเรียน ปิยชาติพัฒนาฯ เป็นการส่วนพระองค์
วันที่ 26 ธันวาคม 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดห้องโสตทัศนศึกษา (ห้องกิตติธเนศวร) และทอดพระเนตรกิจกรรมของโรงเรียน
วันที่ 26 ธันวาคม 2540 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดห้องคอมพิวเตอร์มัลติมิเดีย สวนพฤกษศาสตร์และทอดพระเนตรกิจกรรมของโรงเรียน
วันที่ 26 ธันวาคม 2541 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตรนิทรรศการทางวิชาการและผลงานการดำเนินการของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ และประธานชมรม ผู้ปกครอง ครู นักเรียน โรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ ทูลเกล้าฯ ถวายรถตู้เพื่อใช้ในกิจการของโรงเรียน
วันที่ 31 มีนาคม 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดศูนย์วิทยบริการปิยชาติ และทอดพระเนตรนิทรรศการทางวิชาการและผลงานการดำเนินงานของโรงเรียน
วันที่ 26 ธันวาคม 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรกิจกรรมนิทรรศการทางวิชาการและผลการดำเนินงานของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
วันที่ 21 ธันวาคม 2544 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ และบ้านพักนักเรียนในพระราชานุเคราะห์หลังใหม่
วันที่ 26 ธันวาคม 2545 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
วันที่ 26 ธันวาคม 2546 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
วันที่ 26 ธันวาคม 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ และทำพิธีเปิดศูนย์ศึกษาการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
วันที่ 26 ธันวาคม 2548 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ และทำพิธีเปิดสวนเกษตร-ศิลปะ
วันที่ 26 ธันวาคม 2549 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
วันที่ 26 ธันวาคม 2550 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
วันที่ 26 ธันวาคม 2551 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
วันที่ 26 ธันวาคม 2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ
วันที่ 26 ธันวาคม 2553 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยชาติพัฒนาฯ

คุณอาจจะชอบ

  • โรงเรียนอนุบาลคุณากร
  • วัดหลวงพ่อปากแดง
  • เขื่อนขุนด่านปราการชล
  • โรงเรียนนายร้อย จปร